หน้าแรก > ข่าวประชาสัมพันธ์

แนะนำช่องทางการยื่นแเบบค่าขอตัดสำเนาใบรับรับรองมาตรฐาน

เครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์

ช่องทางร้องเรียน ศูนย์ Call Center 1200
📍ช่องทางร้องเรียนทุกช่องทางจากการใช้งานโทรและอินเทอร์เน็ตของแต่ละค่าย (2024)
.
⁉️หากใช้บริการโทรคมนาคม (การโทรและอินเทอร์เน็ต) แล้วประสบปัญหาในการใช้งาน โดยแจ้งปัญหาไปแล้วก็ไม่ได้รับการแก้ไข ควรทำอย่างไรดี ?
.
🆘ผู้ใช้บริการสามารถยื่นเป็นเรื่องร้องเรียนกับสำนักงาน กสทช. 📞โทรฟรีได้ที่เบอร์ 1200📞 (วันและเวลาทำการ) หรือยื่นเรื่องร้องเรียนกับผู้ให้บริการโดยตรง (ค่ายที่ใช้งาน) เพื่อให้ได้รับการแก้ไขที่รวดเร็ว ซึ่งมีหลากหลายช่องทาง ได้แก่
.
🟢AIS
- โทรฟรีในเครือข่าย : 080-000-9263 เฉพาะวันทำการ เวลา 08.30 - 17.30 น.
- Call Center : 1175 (ครั้งละ 3 บาทตลอดสาย) ตลอด 24 ชม.
- E-mail : [email protected]
- Website : https://ext-activities.ais.co.th/apps/complaintform/
.
🔴truemove-H / true Internet
- โทรฟรีในเครือข่าย : 02-700-8088 เฉพาะวันทำการ เวลา 09.00 - 17.00 น.
- Call Center : 1242 (ค่าโทรตามโปรโมชันที่ใช้งาน) ตลอด 24 ชม.
- E-mail : [email protected]
- Application : True iService
- Website : https://true.th/true-corporation/site/complaint/
.
🔵dtac
- โทรฟรีในเครือข่าย : 02-202-8267 เฉพาะวันทำการ เวลา 09.00 - 16.30 น.
- Call Center : 1678 (ครั้งละ 3 บาทตลอดสาย) ตลอด 24 ชม.
- Line : @dtaccallcenter
- Website : https://dtac.co.th/complaint-center.html
.
🟡nt
- โทรฟรีในเครือข่าย : 02-104-1999 เฉพาะวันทำการ เวลา 08.30 - 16.30 น.
- Call Center : 1888 (โทรฟรีในเครือข่าย) ตลอด 24 ชม.
- E-mail : [email protected]
- Line : @ntplc
- Website : https://ntplc.co.th/contact-us/complaintchannel/
.
🟠3BB
- โทรฟรีในเครือข่าย : 02-100-1100 เฉพาะวันทำการ เวลา 08.00 - 17.00 น.
- Call Center : 1530 (โทรฟรีในเครือข่าย) ตลอด 24 ชม.
- E-mail : [email protected]
- Application : 3BB Member
- Website : https://fiber.3bb.co.th/complaintcenter/
.
#โทรคมนาคมไทยก้าวไปด้วยกัน #สำนักงานกสทช #สำนักรับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม 
ดูน้อยลง
 
📌ปภ. ร่วมกับ กสทช. ส่ง SMS แจ้งเตือนภัยเข้ามือถือประชาชน – เจาะจงพื้นที่เสี่ยงภัยระดับตำบล/หมู่บ้าน

(24 ก.ย.67) ปภ. ร่วมกับ กสทช. และผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ส่งข้อความ SMS แจ้งเตือนภัยเข้ามือถือประชาชนแบบเจาะจงพื้นที่เสี่ยงภัยระดับตำบล/หมู่บ้าน แจ้งเตือนครบทุกมิติ ทั้งวัน เวลา สถานที่ ระดับความรุนแรง และการปฏิบัติตัวให้ปลอดภัย เพื่อให้ประชาชนเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยได้อย่างทันท่วงที เป็นข้อความจากทางราชการ เชื่อถือได้ มีความปลอดภัย และขอให้ปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด

นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการแจ้งเตือนภัยทางมือถือแบบ SMS หรือข้อความสั้น ว่า กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย ได้ร่วมกับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจสังคม กรมอุตุนิยมวิทยา สำนักทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (สสน.) รวมถึงผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทั้ง AIS True และบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) วางแนวทางการส่งข้อความการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าผ่านโทรศัพท์มือถือ (SMS) เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยได้รับข้อมูลการแจ้งเตือนภัยและสามารถเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์อย่างทันท่วงทีและลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจะเป็นหน่วยงานหลักในการออกข้อความแจ้งเตือนไปยังประชาชน ซึ่งขณะนี้พร้อมดำเนินการแล้ว ในทางปฏิบัติเมื่อศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งเป็นหน่วยงานเฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์ ได้รับข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับด้านการพยากรณ์ จะทำการวิเคราะห์ข้อมูลและส่งข้อความแจ้งเตือนภัยให้ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือทำการส่ง SMS ไปยังโทรศัพท์มือถือของประชาชนอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย โดยมีการแจ้งเตือนภัยผ่านระบบข้อความสั้น (SMS) 2 รูปแบบ ทั้งการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้า 12- 24 ชั่วโมง และการแจ้งเตือนภัยแบบฉุกเฉิน 6 -12 ชั่วโมง

“การแจ้งเตือนภัยผ่านข้อความ SMS ขณะนี้พร้อมดำเนินการได้ทันทีหากมีสถานการณ์ภัยที่เป็นไปตามเกณฑ์การแจ้งเตือนที่กำหนดขอให้ประชาชนมั่นใจว่าข้อความแจ้งเตือนภัยจาก ปภ. ที่จะได้รับทางโทรศัพท์มือถือของท่านนั้นเป็นข้อความจากทางราชการ มีความปลอดภัย และเชื่อถือได้อย่างแน่นอน ปภ. ได้กำหนดรูปแบบของข้อความการแจ้งเตือนครบทุกมิติ ทั้งวัน เวลา สถานที่ ระดับความรุนแรง และการปฏิบัติตัวให้ปลอดภัย ดังนั้น ประชาชนไม่ต้องกังวลใจว่าเป็นข้อความจากมิจฉาชีพ และเมื่อท่านได้รับข้อความแจ้งเตือนสถานการณ์และคำแนะนำแล้ว ขอให้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยของตัวท่าน และช่วยลดความเสี่ยงที่จะได้อันตรายจากสถานการณ์ภัยที่อาจเกิดขึ้น” อธิบดีไชยวัฒน์ กล่าวเน้นย้ำ

สำหรับเกณฑ์การส่งข้อความแจ้งเตือนภัยแบบ SMS ปภ.ได้กำหนดแนวทางปฏิบัติในการแจ้งเตือนภัยผ่าน SMS ซึ่งช่วงเวลาในการส่งข้อความ SMS จะเป็นไปตามประกาศแจ้งเตือนของกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง และห้วงเวลาการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้า (12 – 24 ชั่วโมง) และการแจ้งเตือนภัยแบบฉุกเฉิน (6 – 12 ชั่วโมง) โดยเจ้าหน้าที่จะใช้ระดับการแจ้งเตือนภัยตามที่แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติกำหนด (5 ระดับ)ภายหลังการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นที่และสถานการณ์ความเสี่ยงภัยแล้วจะทำการส่งข้อความตามเกณฑ์ตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป ดังนี้ 1. ระดับ 3 (สีเหลือง) ให้เตรียมพร้อมรับสถานการณ์และปฏิบัติตามคำแนะนำของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง และเตรียมพร้อมอพยพกลุ่มเปราะบาง 2. ระดับ 4 (สีส้ม) ให้อพยพและปฏิบัติตามคำแนะนำของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ให้อพยพกลุ่มเปราะบางออกจากพื้นที่น้ำท่วม และขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูง และ 3. ระดับ 5 (สีแดง) ต้องอพยพและปฏิบัติตามข้อสั่งการทันที

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขอฝากประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ขอให้ติดตามสถานการณ์ในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง หากมีประกาศแจ้งเตือนภัยหรือได้รับข้อความ SMS แจ้งเตือนภัยจาก ปภ. ขอให้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัย สามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ ประชาชนยังสามารถติดตามประกาศการแจ้งเตือนภัยได้ที่แอปพลิเคชัน “THAI DISASTER ALERT” และเฟซบุ๊ก กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM รวมถึง X @DDPMNews ////////////

#ปภ #ข่าว #น้ำท่วม #อุทกภัย #น้ำท่วม67 
☎️สายด่วน 1784
🔶FB : กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM
🔶Twitter @DDPMNews
🔶Line @1784DDPM
🔶YouTube DDPMNews รู้ทันภัยกับ ปภ.
สำนักงาน กสทช. ร่วมรัฐ – เอกชน เปิดตัว “Scam Alert ศูนย์รวมข้อมูลเตือนภัยกลโกงมิจฉาชีพ” บนช่องทางต่าง ๆ และแอปพลิเคชัน Whoscall

       วันที่ 17 กันยายน 2567 สำนักงาน กสทช. ร่วมกับองค์กรภาคี ทั้งภาครัฐและเอกชน เปิดตัว “Scam Alert ศูนย์รวมข้อมูลเตือนภัยกลโกงมิจฉาชีพ” โดยมีช่องทางการเผยแพร่ในภาพรวม คือ Facebook และฟีเจอร์ (Feature) ของแอปพลิเคชัน Whoscall ซึ่งแพลตฟอร์มฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ที่ช่วยแจ้งเตือนภัยกลลวงและรับมือกับการหลอกลวงจากมิจฉาชีพออนไลน์ในรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างทันท่วงทีและทั่วถึง รวมถึงช่องทางต่าง ๆ ขององค์กรภาคีด้วย

       ในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมาการหลอกลวงออนไลน์เป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญ ที่ส่งผลกระทบต่อคนไทยหลายแสนคนต่อปี สถิติของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติระหว่างเดือนมีนาคม 2565 ถึงกรกฎาคม 2567 พบว่า ความเสียหายจากการถูกหลอกลวงผ่านช่องทางออนไลน์ มีมูลค่ารวมเกือบ 7 หมื่นล้านบาท หรือ เฉลี่ย 78 ล้านบาทต่อวัน โดยผลสำรวจเบื้องต้นจากรายงานขององค์กรต่อต้านกลโกงระดับโลก Global Anti-Scam Alliance (GASA) ประจำปี 2567[1] ยังพบว่ามีคนไทยเพียงร้อยละ 55 ที่มั่นใจว่ารู้เท่าทันมิจฉาชีพ และร้อยละ 89 เผยว่า ต้องรับมือกับมิจฉาชีพอย่างน้อยเดือนละครั้ง สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ที่มิจฉาชีพได้ใช้ประโยชน์ จากเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาวิธีการหลอกลวงให้มีความแนบเนียน และก้าวล้ำมากยิ่งขึ้น ด้วยการสร้างข่าวเท็จและเว็บไซต์ปลอมอีกมากมาย นอกเหนือจากการหลอกลวงในรูปแบบเดิม ผ่านการโทรเข้าและส่งข้อความ สแปม โดยในช่วงหกเดือนแรกของปีนี้ Whoscall สามารถตรวจพบสายโทรเข้าจากมิจฉาชีพได้เกือบถึง 19 ล้านครั้ง ในขณะที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) สามารถปิดกั้นเว็บไซต์ที่บิดเบือน/หลอกลวง จำนวนกว่า 47,000 รายการ ระหว่างเดือนตุลาคม 2566 – สิงหาคม 2567

       ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธาน กสทช. กล่าวว่า “อาชญากรรมไซเบอร์เป็น ภัยคุกคามที่สำคัญ ซึ่งไม่เพียงส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค แต่รวมถึงภาครัฐและธุรกิจด้วย ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา กสทช. ได้ทำงานเชิงรุกร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ และองค์กรเอกชนชั้นนำ เพื่อเสริมความแข็งแกร่งในการป้องกัน อาชญากรรมทางไซเบอร์ของประเทศ โดยได้ดำเนินการออกกฎระเบียบ ข้อบังคับ และแนวปฏิบัติ  ด้านความปลอดภัยเพื่อรับมือกับ ภัยคุกคามทางไซเบอร์ สำหรับภาคธุรกิจโทรคมนาคม โครงการ Scam Alert เป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญในการสร้างสภาพแวดล้อมดิจิทัล ที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น ด้วยการแบ่งปันความรู้และส่งเสริมความร่วมมือระหว่าง ภาครัฐและเอกชนเสริมความแข็งแกร่งให้ประชาชนได้รับข้อมูลและปกป้องจากภัยคุกคามของการหลอกลวงทางออนไลน์ที่เพิ่มขึ้น”
 
       องค์กรภาคีภาครัฐ และเอกชน 12 องค์กร ประกอบด้วย คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.), สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.), กองบัญชาการตํารวจสอบสวนกลาง (บช.ก.), กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.), บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส), บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น, บมจ. โทรคมนาคมแห่งชาติ, บมจ. ธนาคารไทยพาณิชย์, กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์, สภาองค์กรของผู้บริโภค โครงการโคแฟค (Cofact) และบริษัท โกโกลุก (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ให้บริการแอปพลิเคชั่น Whoscall เป็นผู้ประสานงานหลัก ร่วมกันเปิดตัวฟีเจอร์ ‘Scam Alert’ (เตือนภัยกลโกง) ศูนย์รวมข้อมูลเพื่อป้องกันการหลอกหลวงจากมิจฉาชีพแห่งแรกของไทยแบบรวมศูนย์ เพื่อจัดการกับข้อมูลจำนวนมากจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ แจ้งเตือนภัย และให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการหลอกลวงที่อาจเกิดขึ้น ในภาคส่วนต่าง ๆ ได้รับทราบอย่างทั่วถึง

ช่องทางในการสื่อสาร ได้แก่ Facebook และบริการบนฟีเจอร์ Scam Alert บนแอปพลิเคชัน Whoscall เพื่อเป็นแพลตฟอร์มฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์สำหรับประชาชน โดยแบ่งเป็นการเตือนภัยโดยตรงจากหน่วยงานภาครัฐและข้อมูลเตือนภัยกลโกงในรูปแบบต่าง ๆ จากพันธมิตรภาคเอกชน ที่สามารถใช้ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายทั้งเวอร์ชันฟรีและพรีเมียม

●      เตือนภัยกลโกงล่าสุด (Scam Trending Alert) - ผู้ใช้งาน Whoscall สามารถเปิดการแจ้งเตือนอัตโนมัติ บนแอปพลิเคชันเพื่อรับข้อมูลแจ้งเตือนภัยมิจฉาชีพที่สำคัญและเร่งด่วน แบบเรียลไทม์ เช่น การแอบอ้างหน่วยงานที่สำคัญ การหลอกลวงที่มีมูลค่าความเสียหายขนาดใหญ่ และก่อให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง และการโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคล จากองค์กรภาครัฐ เช่น กองบัญชาการตํารวจสอบสวนกลาง ตำรวจไซเบอร์ กสทช. และ สกมช.

●      เตือนภัยกลโกงรู้ทันมิจฉาชีพ (Scam Education Content) – ฟีเจอร์นี้จะเป็นแพลตฟอร์มที่รวมความรู้เกี่ยวกับกลวิธีการหลอกลวง และเคล็ดลับการป้องกันต่าง ๆ จากภาคีเครือข่ายภาคเอกชนและภาคประชาสังคม เช่น การหลอกลวงด้านการลงทุน การหลอกลวงการชำระบิล การหลอกลวงในการซื้อของ การหลอกลวงทางอีคอมเมิร์ซ รวมถึงรายงานและให้ข้อมูลเชิงลึกจาก Whoscall และองค์กร Global Anti-Scam Alliance (GASA) 

       การป้องกันการหลอกลวงเริ่มต้นด้วยการได้รับข้อมูลอย่างทันท่วงทีจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ ซึ่งนอกเหนือจากผู้ใช้งานจะได้รับทราบข้อมูล การเตือนภัยผ่านฟีเจอร์ Scam Alert แล้ว ประชาชนก็สามารถใช้เครื่องมือต่าง ๆ ที่ภาครัฐและเอกชนพัฒนาขึ้น เป็นกลไกในการจัดการกับปัญหามิจฉาชีพ อาทิ การแจ้งความดำเนินคดีที่ศูนย์ AOC 1441 หรือ thaipolice.go.th หรือการแจ้งเลขหมายที่เป็นมิจฉาชีพต่อ กสทช. ที่ 1200 โทรฟรี หรือแจ้งที่ผู้ให้บริการมือถือแต่ละราย รวมทั้ง Whoscall ก็มีฟีเจอร์ป้องกันความปลอดภัยเพิ่มเติมให้แก่ผู้ใช้งานทุกคน เช่น Auto Web Checker เพื่อปกป้องผู้ใช้จากการคลิกลิงก์ฟิชชิงโดยไม่ได้ตั้งใจ แบบอัตโนมัติ และ ID Security (เช็กข้อมูลรั่วไหล) เป็นต้น

---------------------------------


[1]  โกโกลุก เป็น สมาชิก foundation member ของ the Global Anti-Scam Alliance (GASA) สามารถศึกษาข้อมูลวิจัยล่าสุดได้ที่ www.gasa.org
ฝนมา น้ำท่วม
มิจฉาชีพก็มา
ต้องการบริจาคเงินช่วยเหลือน้ำท่วม
ตรวจสอบข้อมูลจากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ
ก่อนโอนเงินนะครับ


#สำนักงาน กสทช.

ไม่มีเพื่อนคนไหน เปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์
แล้วโทรหาให้ลบเบอร์เก่า ก่อนขอยืมเงิน
แบบนี้ไม่ใช่เพื่อน แน่ครับ
วางสาย
ไม่คุยต่อ
สติมี สตางค์อยู่
สำนักงาน กสทช.
ไม่มีนโยบาย โทรหาประชาชน
เพื่อสอบถามข้อมูลหรือเพื่อให้ดำเนินการใดๆ

#สำนักงาน กสทช

กิจกรรมวันเด็กแห่งชาติประจำปี 2567
จำนวนผู้เข้าชม

สำนักงาน กสทช. เขต 42 

84/2 หมู่ที่ 4 ตำบลกะทู้ อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต 83120

โทรศัพท์ : 
076 321 963, 02-6708888 ต่อ 4920  ผู้อำนวยการ สำนักงาน กสทช. เขต 42 
076 321 962, 02-6708888 ต่อ 4751 หัวหน้างานตรวจสอบและกำกับดูแล
076 321 961, 02-6708888 ต่อ 4747 หัวหน้างานใบอนุญาต
076 321 962, 02-6708888 ต่อ 4749 หัวหน้างานตรวจสอบเนื้อหาและคุ้มครองผู้บริโภค
076 321 522, 02-6708888 ต่อ 4750 หัวหน้างานอำนวยการ


E-mail : [email protected] (สารบรรณอิเล็กทรอนิกส์)
สายด่วน กสทช. 1200 (โทรฟรี)